วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานที่ 4 ความหมายของปัญญา

ปัญญา
           เมื่อมองทางด้านวัตถุ ประเทศชาติกำลังเจริญก้าวหน้ามาก ถ้าต่างชาติมีของแปลกใหม่ เช่น รถยนต์ ในไม่ช้าบ้านเราก็มีบ้าง แต่มีโดยการนำเข้า ไม่ได้ผลิตเอง หรือผลิตภายใต้เทคโนโลยี (ปัญญา) ของต่างชาติ เพราะเรายังขาดแคลนปัญญา ต้องสั่งซื้อปัญญาจากต่างประเทศ เสียเงินปีละมากมาย (และปัญญานั้นก็อาจล้าสมัยแล้ว) จึงต้องรีบพัฒนาการศึกษา หมั่นฝึกฝนอบรมปัญญา แล้วบ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง ไม่ใช่เจริญแต่เพียงเปลือกนอก ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา ไม่ฝึกฝนอบรมปัญญา ในไม่ช้าแม้แต่ปัญญาในทางธรรมก็คงต้องนำเข้าแทนส่งออกเป็นแน่
           ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล รู้จักฐานะ (เช่น ความรู้ อายุ ตระกูล ทรัพย์) ของตนและผู้อื่น สามารถประพฤติตนให้เข้ากับสังคมได้ รู้จักประมาณ คือทำให้พอดี ไม่ขาด ไม่เกิน รู้จักกาลเทศะ ฯลฯ
           ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวถึงลักษณะของปัญญา ๒ ประการ คือ
           ๑. ปัญญามีการตัดเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า ในการเกี่ยวข้าว ชาวนาจะจับกอข้าวด้วยมือข้างหนึ่ง จับเคียวด้วยมืออีกข้าง แล้วตัดให้ขาดด้วยเคียวที่ถือไว้ ฉันใด ในการเจริญภาวนา ผู้บำเพ็ญเพียรควบคุมใจไว้ด้วยโยนิโสมนสิการ แล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา
           ๒. ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า เมื่อบุคคลส่องประทีปเข้าไปในที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดแสงสว่าง รูปทั้งหลายย่อมปรากฏชัด ฉันใด เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืด คืออวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือญาณ ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏขึ้น ฉันนั้น
           ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิเทศ กล่าวถึงปัญญา ๒ คือ
           ๑. โลกิยปัญญา ปัญญาของปุถุชนซึ่งยังวนอยู่ในโลก
           ๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาของพระอริยบุคคลผู้ข้ามพ้นจากโลก
           ในสังคีติสูตร (บาลีเล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘ ย่อว่า ๑๑/๒๒๘) กล่าวถึง ปัญญา ๓ คือ


           ๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด (เองไม่ได้ฟังมาจากคนอื่น)
           ๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง (การอ่าน หรือการศึกษาเล่าเรียน)
           ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรมจิตใจ (ละกิเลสได้ด้วยปัญญาชนิดนี้)
           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. อายโกศล รอบรู้ในความเจริญ (รู้เหตุที่ทำให้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ)
           ๒. อปายโกศล รอบรู้ในความเสื่อม (รู้เหตุที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ)
           ๓. อุปายโกศล รอบรู้ในความเจริญและความเสื่อม
           ในอวกุชชิตสูตร (๒๐/๔๖๙) กล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวก คือ
           ๑. ผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วก็ไม่เข้าใจ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำซึ่งไม่อาจรองรับน้ำที่เทลงมาได้เลย
           ๒. ผู้มีปัญญาดังหน้าตัก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วพอเข้าใจได้ แต่หลังจากนั้นก็ลืมหมด เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังนั่งเคี้ยวกินขนมต่างๆ ซึ่งวางอยู่บนหน้าตัก แต่เมื่อเขาเผลอตัวลุกขึ้น ขนมก็หล่นลงพื้นหมด
           ๓. ผู้มีปัญญามาก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วเข้าใจและจำได้ไม่ลืม เปรียบเหมือนหม้อหงายซึ่งรองรับน้ำที่เทลงมาได้หมด
           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๔ คือ
           ๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
           ๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด
           ๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในความดับทุกข์
           ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
           พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบท (๒๕/๓๐) ว่า ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบความเพียร (ไม่ใช่เกิดเองโดยบังเอิญ) ปัญญาที่เกิดจากการประกอบความเพียรเรียกว่า โยคปัญญา แม้เชาวน์ หรือไหวพริบที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดซึ่งเรียกว่า สชาติกปัญญา ก็คือปัญญาบารมีที่เกิดจากการอบรมในชาติก่อน
           หลักธรรมสำหรับอบรมปัญญาให้เจริญขึ้น เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม (๒๑/๒๔๘) มี ๔ คือ
           ๑. คบสัตบุรุษ คือ หาแหล่งวิชาหรือครูที่มีความรู้และคุณธรรมดี
           ๒. ฟังสัทธรรม คือ ใส่ใจเล่าเรียนโดยฟังจากครูหรืออ่านจากตำรา
           ๓. คิดให้แยบคาย คือ พิจารณาให้ทราบถึงเหตุและผล คุณและโทษ ของสิ่งที่เรียนรู้
           ๔. นำสิ่งที่ได้ไตร่ตรองแล้วมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย
           ปัญญาหรือความรอบรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากราวกับแก้วสารพัดนึกประจำชีวิต เพราะเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาย่อมวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำว่า สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังเรื่องราวต่างๆ ที่นำมา สาธก ดังต่อไป

งานที่ 3 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

Lเรื่องที่    ความสำคัญของพระพุทธศาสนาL

Wสาระสำคัญ
         พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกชั้นวรรณะ  โดยมุ่งเน้นถึงกลุ่มคนที่มีความวุ่นวายหรือมีความทุกข์  เพื่อดับตัณหาความยากของมนุษย์อันเป็นต้นเหตุความทุกข์  พระพุทธศาสนามีวิธีการแห่งหลักธรรมคำสอนที่เป็นจุดแห่งความคิดมากมาย  โดยอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐานและมีปัญหาเป็นผลที่เกิดตามมา

+ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

           พระพุทธศาสนามีความสำคัญมากมายหลายประเด็นมีหลักคำสอนสำหรับพัฒนาบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตบนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง  ท่านได้กำหนดข้อปฏิบัติในการฝึกฝน
อบรมตน ด้วยการให้ละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส  ซึ่งในขั้นตอนของการพัฒนาตนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยมีศรัทธา คือมีความเชื่อที่ถูกต้องในหลักเหตุและผลโดยอาศัยปัญญาเข้าไปกำกับทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ  แต่การที่คนเราจะมีปัญญาได้นั้น ตนเองก็ต้องรู้จักคิด รู้จักอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฟังจากบุคคลอื่นบ้าง จากการอ่านตำราบ้าง จากการคิดค้นด้วยตนเองบ้าง จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทั่วไปบ้าง จากประสบการณ์ต่างๆ บ้าง   เมื่อคนเรามีปัญญาความรอบรู้แล้ว จะสามารถใช้เป็นประทีปส่องทางไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังสามารถที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้เข้าถึงความมีอิสรภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย กล่าวคือ ทำให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสและความทุกข์ทั้งปวงได้

d. พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง

           .  การพัฒนาศรัทธา
                คำว่า ศรัทธา  แปลว่า ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ดีงามที่มีเหลุผลและผลไม่ใช่เชื่ออย่างงมงายโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาของตนเอง
                ตัวอย่างของความมีศรัทธา คือ ท่านอุลาลีคหบดี ผู้เคยเลื่อมใสนิครนถนาฏบุตร มาก่อน ได้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตตามที่ปรากฏในอุปาลีวาทสูตร ว่า
                พระพุทธองค์ได้ตรัสตักเตือนอุบาลีคฤหบดีให้พิจารณาด้วยสติปัญญาเสียก่อน เพราะเมื่อได้พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จึงค่อยลงมือทำเป็นการดีโดยพระพุทธองค์ทรงตักเตือนให้ถวายบิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ที่มาสู่เรือนของตนไปตามปกติ  เพราะตระกูลของท่านอุบาลีเป็นตระกูลใหญ่ที่คนรู้จักมากเป็นเสมือนท่าน้ำสำหรับอาบ  และดื่มกินของพวกนิครนถ์ทั้งหลายมาช้านานแล้ว
                ฝ่ายท่านอุบาลีคฤหบดี เมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้กราบทูลแสดงความเชื่อมั่นและเลื่อมใสในพระพุทธองค์ยิ่งขึ้น  เพราะเมื่อก่อนนี้เคยได้ยินจากบุคคลอื่นที่กล่าวว่า  พระสมณโคดมได้ชักชวนผู้คนให้ถวายทานแด่พระองค์ และพระสาวกเท่านั้นไม่ควรให้ทานแก่ผู้อื่น  เพราะทานที่ถวายแด่พระองค์และพระสาวกเท่านั้นมีผลมากส่วนทานที่ให้แก่ผู้อื่นไม่มีผลเลย  แต่ตามความเป็นจริงที่ปรากฏชัดก็ คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนให้ทำทานแก่พวกนิครนถ์และคนอื่นๆ ทั่วไปด้วย เพราะทานนั้นย่อมมีอานิสงส์แก่ผู้กระทำเหมือนๆ กัน
                จากเรื่องนี้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เปิดกว้างแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ  โดยให้อิสรภาพและเสรีภาพในการตัดสินใจ คือ ให้ทุกคนพิจารณาด้วยปัญญาในสิ่งที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าให้ดีเสียก่อน  แล้วจึงค่อยตัดสินใจกระทำลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยเหตุผลและมีสติปัญญาเข้าไปกำกับด้วย
                ในหลักของความเชื่อนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักไว้ในเกสปุตตสูตร  ซึ่งบางทีเรียกว่า
กาลามสูตร ตามชื่อหมู่บ้านของชาวกาลามชน  นับว่าเป็นหลักความเชื่อที่ชาวพุทธทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ควรให้ความสนใจศึกษาและนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อตัดสินปัญหาต่างๆ  ที่เกี่ยวกับความเชื่อถือว่าผิดถูกอย่างไร
                เมื่อสรุปความในพระพุทธโอวาทที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้แล้ว  ผู้ศึกษาก็จะพบว่าพระพุทธองค์ทรงกำหนดหลักเกณฑ์ตัดสินว่าสิ่งใดควรจะเชื่อ สิ่งใดไม่ควรจะเชื่อไหว้ ๓ ประการ
                .  ทรงให้พิจารณาด้วยสติปัญญาให้เห็นแจ้งประจักษ์ด้วยตนเองก่อน
                .  ทรงให้อาศัยความเห็นของปราชญ์บัณฑิตเข้าประกอบด้วย
                . ทรงให้คำนึงถึงผลของการปฏิบัติว่าจะเกิดคุณหรือโทษ จะให้ความสุขหรือให้ความทุกข์ ถ้าเกิดผลไม่ดีก็ควรละเสีย แต่ถ้าเกิดผลดีก็ควรปฏิบัติต่อไป
                อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล  ย่อมสอนให้พุทธศาสนิกชนมิให้เชื่ออะไรง่ายๆ และไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงาย พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธรู้จักสร้างสรรค์และพัฒนาศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในตนก่อน  เพราะผู้ที่มีศรัทธาที่ได้รับการพัฒนาดีแล้ว  ย่อมจะเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุผล สามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในทุกๆ เรื่อง



งานที่ 1 เรื่อง ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
             หลักที่ยึดถือกันในทางการเมืองระบบประชาธิปไตยประการหนึ่งคือ  การให้ประชาชนปกครองตัวเองในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงถือหลักนี้เป็นสำคัญที่สุด
หลักและวิธีการประชุม
    1.องค์คณะและองค์ประชุม  เนื่องจากสังฆกรรมแต่ละอย่างมีความสำคัญแตกต่างกัน ฉะนั้นพระองค์จึงทรงกำหนดจำนวนพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นสมาชิกที่จะประชุม ที่จะทำกิจกรรมแต่ละอย่างมากน้อยกว่ากันดังต่อไปนี้
-                   ภิกษุสงฆ์ 4 รูป เรียกว่า จตุวรรค
-                   ภิกษุสงฆ์  5 รูป เรียกว่า ปัญจวรรค
-                   ภิกษุสงฆ์  10  รูป เรียกว่า ทสวรรค
-                   ภิกษุสงฆ์  20  รูป เรียกว่า วีสติวรรค
-                   ภิกษุสงฆ์เกิน  20  รูป  ทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด
     2.สถานที่ประชุม   การทำสังฆกรรมคือ กิจของสงฆ์ทุกอย่างต้องมีข้อกำหนดเรื่องสถานที่ประชุม เรียกว่า สีมา  สีมาหรือเขตแดนสำหรับกำหนดสถานที่ประชุมนั้นไม่ให้เล็กเกินไปจนไม่อาจให้ภิกษุ 21 รูป นั่งได้และไม่ให้ใหญ่เกิน 3 โยชน์
               วัตถุอันใช้กำหนดเขตสีมา ได้แก่ ภูเขา ป่าไม้  จอมปลวก แม่น้ำ
            ดังจะเห็นได้ เช่น การปกครองแคว้นวัชชี ซึ่งมีนครหลวงชื่อ กรุงเวสาลี นั้นมี ลิจฉวีสภาคือ สภาของเจ้าลิจฉวีมีการประชุมแบบสภาผู้แทนราษฎรเหมือนกัน  เมื่อเห็นอย่างนี้จะว่าพระพุทะศาสนาเป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยอันเก่าแก่อย่างไร
           
ตอบว่า การปกครองของเจ้าลิจฉวีมีพระมหากษัตริย์เหล่านั้นหาใช่ประชาธิปไตยไม่แต่เป็นอภิชนอธิปไตย (Aristocracy) คือกลุ่มชนสูงเป็นใหญ่โดยการผูกขาดว่าจะต้องเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ลิจฉวีและวงศ์มัลละ ประชาชนทั่วไปมีส่วนเป็นผู้ออกเสียงในสภานั้นไม่ แม้ประวัติของประชาธิปไตยในยุคของกรีกเองเท่าที่เราสอนได้จากชีวประวัติของนักปราชญ์คนสำคัญ เช่น      ซอเครติส (Socrgtes)       เพลโต(Plato)   และ  อริสโตเติล (Aristotle) ก็เป็นยุคหลังพุทธปรินิพพาน คือ พระพุทธเจ้านิพพานก่อนซอเครติสเกิดประมาณ 75 ปี  ก่อนเพลโตเกิดประมาณ 115 ปี และก่อนอริสโตเติลเกิดประมาณ 159 ปี
     3. สิทธิของผู้เข้าประชุม  ภิกษุที่เข้าประชุมในการทำสังฆกรรมทุกประเภทย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการแสดงความคิดเห็นทั้งในทางคัดค้านและในทางสนับสนุน
     4. มติที่ประชุม   ในสังฆกรรมทั่วไปมติที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์ จะคัดค้านแม้แต่เสียงเดียวไม่ได้ วิธีลงมติในกรณีเช่นนี้ถ้าเห็นด้วยให้นิ่งอยู่ถ้าไม่เห็นด้วยก็ให้คัดค้าน 

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระ ที่มาร่วมกับ นปช.

เหตุการณ์มันมีสองด้าน แต่มันจะจบได้ด้วยความยุติธรรม

"ยุติธรรมไม่มี สามัคคีไม่เกิด"